วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร


สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร 
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรได้หลายประการดังนี้
1. ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
2. จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งความรู้
4. เป็นช่องทางการตลาดช่องทางหนึ่งด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- commerce)
  
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดประเภทข้อมูลทางการเกษตร
            ณรงค์ สมพงษ์ (2543) ได้รวบรวมขอบเขตของข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการเกษตรนานาชาติ (AGRIS)  เป็นหัวข้อกว้าง ๆ ดังนี้
            1. ด้านการเกษตรทั่วไป (Agriculture in General)
            2. ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (Geography and History)
            3. การศึกษา ส่งเสริมและเผยแพร่ข้อสนเทศ (Education Extension and Information)
            4. การบริหารและกฎหมาย (Administration and Legislation)
            5. เศรษฐศาสตร์และพัฒนาชนบท (Economic Development and Rural Sociology)
            6. พืชศาสตร์ (Plant Science and Protection)
            7. วิทยาการหลักการเก็บเกี่ยว (Post Harvest Technology)
            8. สัตวศาสตร์ (Animal Science)
            9. การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Fisheries and Aquaculture)
            10. วิศวกรรมเกษตรและเครื่องจักรกล (Agricuitural Machinery and Engineering)
            11. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Enviroments)
            12. อุตสาหกรรมการเกษตร (Processing of Agricultural Product)
            13. วิทยาการการเลี้ยงดู (Human Nutrition)
            14. นิเวศวิทยา (Pollution)
            รวมทั้งเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไปเกี่ยวข้องด้านการเกษตร และมีหัวเรื่องย่อยละเอียดลงไปอีก
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ด้านการเกษตรอื่นๆที่ได้รวบรวม เชื่อมโยง เผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตร เช่น www.kasetonline.net ซึ่งมีสารบัญความรู้ทางการเกษตรในเรื่องดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ประมง เทคโนโลยีการเกษตร แหล่งวิทยาการ ปุ๋ย ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการด้านการเกษตรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งานวิจัยสารเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น