วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทความที่ชื่นชอบและความสนใจของผู้เขียน

เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพแบบง่ายๆ

ในแบบฉบับAUDIO ARTIST 

              หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและแสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยังสามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก

อย่าตัดบริเวณข้อต่อ

                หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้นอาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า


สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน

                    เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก

ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น

                         ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่ายไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ


Window light

                     การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น


ถ่ายภาพย้อนแสง

                    หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่
1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)
จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้นผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ



คำเตือน!!!!!!ภาพเหล่านี้มีลิขสิทธิ์ห้ามผู้ใดหลอกเลียนแบบหรือคัดลอกโดยเด่นขาด 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก 
ท่านสามารถติดต่อหรือชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ตามแฟนเพจที่ขึ้นอยู่ด้านล่างนี้ได้เลยครับ ยินดีให้คำปรึกษาปัญหาในถ่ายภาพ 

ขอบพระคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

แบบฝึกหัดบทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ 

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามข้อข้อดังต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด

1.1) การบันทึกและจัดเก็บข้อมลู
ตอบ 
เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
แผ่นดิสก์ (Diskette / Floppy Disk)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี (CD and DVD)
แฟลชเมมโมรี (Flash Memory)
ยูเอสบีแฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive)
สมาร์ทการ์ด (SMART Card)

1.2) การแสดงผล 
ตอบ 
อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device )
เทอร์มินอล ( Terminal ) 
จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) 

1.3) การประมวลผล

ตอบ 
ซีพียู (CPU)  คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ ตัวที่อินเทอรัพการแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


2. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน

...........8........ชอฟแวร์ประยุกต์
...........6........Information Technology
...........1.......คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
...........3.........เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
...........10.........ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน แลพเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
...........7..........ซอฟแวร์ระบบ
...........9..........การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดียที่มีผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองได้
                       ตามระดับความสามารถ
............5......... EDI
............4.........การสื่อสารโทรคมนาคม
............2.........บริการชำระภาษีออนไลน์

ชี้แจ้งบทความ

ชี้แจ้งบทความ

รูปภาพเหล่านี้ทางผู้เขียนได้หยิบยกนำมาเพื่อใช้ในการประกอบบทความเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารเท่านั้น โดยใช้ในการศึกษาค้นคว้า ขอบคุณภาพจาก Google 

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง...

1.1 มหาวิทยาลัยมาหาสารคามได้เตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการเปิดให้บริการของห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นการยืมและคืนหนังสือผ่านทางเครื่องช่วยลดเวลาให้การต่อคิวยืมหนังสือ  และยังมีเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาห้องสมุดให้สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ คือการค้นหาหนังสือผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทางห้องสุดจัดเป็นหมวดหมู่ไว้ในระบบ และง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลหนังสือที่เราต้องการแค่พิมพ์ชื่อหนังสือวัน เดือน ปี และครั้งที่พิมพ์ ของหนังสือที่เราต้องการระบบก็จะแสดงที่อยู่ของชั้นวางหนังสือให้เราเอง โดยเราไม่ต้องไปเดินหาทีละชั้น ข้อดีอีกอย่างก็คือสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง 

1.2 อีกแนวคิดหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำมาใช้และเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้วก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ค    


 แนวคิดเรื่อง อีบุ๊ค ( eBook) คือ การทำหนังสือ หรือแม็กกาซีน มาพัฒนาในรูปแบบดิจิตอล โดยผู้สนใจสามารถอ่านสิ่งพิมพ์ดิจิตอลเหล่านี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เหมือนการอ่านจากหนังสือหรือแม็กกาซีนทั่วไป แต่มีจุดเด่นคือ ผู้อ่านสามารถเข้าเลือกซื้อหนังสือหรือแมกกาซีนที่ eBook World ได้ตลอดเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถเลือกดาวน์โหลดมาอ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือขณะใดก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้อง online อยู่ ถ้าได้ดาวน์โหลดไว้เรียบร้อยแล้ว
           เทคนิคของการผลิต eBook เป็นเทคโนโลยีของบริษัท Zinio ซึ่งในเบื้องต้นข้อมูลที่จะนำมาสร้าง eBook จะต้องเตรียมไฟล์ไว้ในรูปแบบ PDF สามารถใส่ link, ใส่ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงไว้ในไฟล์ PDF หลังจากนั้นจึงใช้เครื่องมือของ Zinio นำมาจัดการกับไฟล์ PDF อีกครั้ง ทำให้ eBook มี effect การเปิดอ่านที่น่าสนใจ น่าตื่นตาตื่นใจ
           แผงหนังสือดิจิตอล eBook World (หมายถึงของ True) จะให้บริการครอบคุมหนังสือและนิตยสารชั้นนำทั้งในและต่างประเทศกว่า 20 หมวด ผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปเลือกซื้อหนังสือที่ eBook World ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เว็บไซต์ www.ebookworld.in.th โดยสามารถดาวน์โหลดนิตยสารและหนังสือที่ต้องการมาไว้อ่านได้ในภายหลัง
          ซึ่งทรู ได้ร่วมกับสำนักพิมพ์ชั้นนำของประเทศ เช่น บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ( มหาชน ) , บริษัท บลิช พับลิชชิ่ง จำกัด , บริษัท บูรพัฒน์ คอมิคส์ พับลิเคชั่น์ จำกัด , บริษัท ฟิวเจอร์วิว จำกัด , บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด ( มหาชน ) , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นต้น เพื่อผลิต eBook ชุดแรกไว้บริการ โดยคัดสรรเนื้อหาสาระที่หลากหลายและรูปแบบแตกต่างกันผสมผสานไว้ใน แผงหนังสือติจิตอลแห่งนี้

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของ E-BOOK


ข้อดีของ e-Book

1. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
2.ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
3.อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
4.ทำสำเนาได้ง่าย
5.จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
6.อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ
7.สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
8.เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book

ข้อเสียของ e-Book

1.อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software  ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
2.ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
3.การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
4.เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
5.ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น


1.3   มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษามาให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศคือ การเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในมหาวิทยาลัยรวมทั้งคณะต่างๆได้ใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆบนโลกอินเทอร์เน็ต ได้รวดเร็วนั้นเอง


เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

  เทคโนโลยีสารสนเทศกับสำหรับคนพิการ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถที่คนพิการมีอยู่ เช่น ทำนาฬิกาให้พูดบอกเวลาได้ หรือมีการสั่นสะเทือนผูกไว้กับข้อมือ สำหรับคนพิการหูหนวก หูตึง เป็นต้น
             การยอมรับและการเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการมีประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3ประการ คือ
 1การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน 2การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ 3การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
 1. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากที่คนปกติใช้กันอยู่ อาทิ ระบบปฏิบัติการที่เป็น DOS, Windows, Macintosh, Unix หรืออื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ เช่น ตาบอด ได้รับการออกแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่เคยชินกับการใช้แป้นพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ทั่วๆ ไป
    2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
    2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
  2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
  2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาทำหน้าที่เฉพาะดังต่อไปนี้
3.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง 
 3.2 เครื่องขยายหน้าจอ (Screen Enlarge ment) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
3.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (Braille Translation) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์ (Braille Display) หรือเพื่อ การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอักษรเบรลล์ต่อไป
            นอกจากนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้กับคนพิการในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือนำเอาอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ สิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นๆ อีกมาใช้ เช่น เครื่องอ่านหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition) เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านจอภาพ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง หรือจอแสดงเบรลล์ เป็นต้น
            การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับคนพิการเป็นสิ่งที่ช่วยคนพิการให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้เกิดความ เข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันของด้านโอกาสในการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละประเภทอย่างจริงจัง


เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร


สารสนเทศด้านการเกษตร คือ รากฐานสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดมิได้ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย เพราะสารสนเทศเป็นที่มาของความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การจัดการการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ฯลฯ การพัฒนาสารสนเทศด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานผู้ผลิตสารสนเทศทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนถึงผู้ใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นองค์กรและบุคคล

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านการเกษตร 
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรได้หลายประการดังนี้
1. ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
2. จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งความรู้
4. เป็นช่องทางการตลาดช่องทางหนึ่งด้วยระบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- commerce)
  
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดประเภทข้อมูลทางการเกษตร
            ณรงค์ สมพงษ์ (2543) ได้รวบรวมขอบเขตของข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการเกษตรนานาชาติ (AGRIS)  เป็นหัวข้อกว้าง ๆ ดังนี้
            1. ด้านการเกษตรทั่วไป (Agriculture in General)
            2. ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (Geography and History)
            3. การศึกษา ส่งเสริมและเผยแพร่ข้อสนเทศ (Education Extension and Information)
            4. การบริหารและกฎหมาย (Administration and Legislation)
            5. เศรษฐศาสตร์และพัฒนาชนบท (Economic Development and Rural Sociology)
            6. พืชศาสตร์ (Plant Science and Protection)
            7. วิทยาการหลักการเก็บเกี่ยว (Post Harvest Technology)
            8. สัตวศาสตร์ (Animal Science)
            9. การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Fisheries and Aquaculture)
            10. วิศวกรรมเกษตรและเครื่องจักรกล (Agricuitural Machinery and Engineering)
            11. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Enviroments)
            12. อุตสาหกรรมการเกษตร (Processing of Agricultural Product)
            13. วิทยาการการเลี้ยงดู (Human Nutrition)
            14. นิเวศวิทยา (Pollution)
            รวมทั้งเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไปเกี่ยวข้องด้านการเกษตร และมีหัวเรื่องย่อยละเอียดลงไปอีก
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ด้านการเกษตรอื่นๆที่ได้รวบรวม เชื่อมโยง เผยแพร่ข้อมูลทางการเกษตร เช่น www.kasetonline.net ซึ่งมีสารบัญความรู้ทางการเกษตรในเรื่องดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ประมง เทคโนโลยีการเกษตร แหล่งวิทยาการ ปุ๋ย ข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการด้านการเกษตรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร งานวิจัยสารเคมี และยาฆ่าแมลง เป็นต้น


เทคโนโลยีในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมสำรวจกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ
1.  งานสำรวจรังวัด ( Surveying )

                งานสำรวจรังวัด ( Surveying )  คือ งานที่อาศัยขบวนการทางวิทยาศาสตร์และศิลป์มาใช้ในการวัดหาตำแหน่งสัมพัทธ์ (Relative position) ของสิ่งต่างๆทั้งที่ตั้งอยู่บน  เหนือ  หรือใต้พื้นผิวโลก   แต่ปัจจุบันคำว่า Surveying ได้เปลี่ยนเป็น Geomaticsโดยนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับขบวนการทางวิทยาศาสตร์และศิลป์ในการวัดตำแหน่ง รวบรวมสารสนเทศ (Information) เกี่ยวกับกายภาพและสิ่งแวดล้อมของโลก  ทำการประมวลผลและเผยแพร่ผลต่างๆตามที่ต้องการ
ในงานสำรวจรังวัดนั้นมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการใช้แผนที่มาทำการวางแผนจัดระบบการใช้ที่ดิน  การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น  ซึ่งการจัดทำแผนที่สามารถทำได้หลายวิธีการทั้งการสำรวจรังวัดภาคพื้นดิน  การสำรวจรังวัดจากภาพถ่ายทางอากาศ  เป็นต้น  แต่ละวิธีการจะใช้เครื่องมือและระบบประมวลผลแตกต่างกัน  การจะเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน
2.  เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมสำรวจ
                ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมสำรวจได้เจริญรุดหน้าไปอย่างมาก  ทั้งในส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดหรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลหรือที่เรียกว่า ซอฟท์แวร์(Software)
                การพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของเครื่องมือสำรวจรังวัดได้นำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์และไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของตัวเครื่องมือ เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้น  ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  เช่น  เครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดภาคพื้นดิน  ได้แก่  กล้อง Total  Station   กล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์  ดังรูปที่ 1 เป็นต้น  ส่วนการสำรวจรังวัดภาพถ่ายใช้กล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัล ระบบ 3D  Laser Scanner รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียม      นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือรังวัดพิกัดจากระบบการกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม     ที่เรียกกันว่า GPS (Global Positioning  System)  ดังรูป
eica  SR20  GPS  Receiver

                ในด้านโปรแกรมประมวลผลมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผนวกเอาข้อมูลทางด้าน
แผนที่  หรือที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Spatial  Data) มาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กับข้อมูลเชิงตำแหน่งนั้นๆ ที่เรียกว่า ข้อมูลอรรถหรือคุณลักษณะ (Attribute  Data  or  Non-spatial
Data)  ที่เรียกกันว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic  Information  System , GIS)

ปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้มีองค์ประกอบส่วนต่างๆ ดังนี้  ระบบคอมพิวเตอร์   ระบบซอฟท์แวร์   ข้อมูล    กรรมวิธี  บุคลากร  และการบำรุงรักษา  ซึ่งทุกส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีประสิทธิภาพ

3.  การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ

    ภัยทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   แต่สามารถทำให้ผลกระทบที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้    ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการที่ดี    โดยเฉพาะการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้จัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้น   องค์ประกอบหนึ่งที่จะมีผลต่อการจัดการ ก็คือ ข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงตำแหน่งและข้อมูลอรรถ   การจัดทำฐานข้อมูลนั้นสำคัญอย่างยิ่งที่จะมีผลต่อการใช้งาน   ฐานข้อมูลเชิงตำแหน่งจะอยู่ในรูปของแผนที่  แผนที่ฐาน(Based  Map) ที่ถูกจัดสร้างขึ้นมานั้นอาจสร้างมาจากการสำรวจรังวัดภูมิประเทศ (Topographic  Surveys)  การสำรวจรังวัดจากภาพถ่ายทางอากาศ (Photogrammetry) หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตราส่วนและความถูกต้องที่ต้องการ  โดยแผนที่ฐานสามารถจำแนกออกมาเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) เช่น  แผนที่แสดงถนน  แผนที่แสดงอาคาร  แผนที่แสดงแนวท่อระบายน้ำ  ฯลฯ  เป็นต้นระบบพิกัดของแต่ละแผนที่จะต้องเป็นระบบเดียวกันทำให้สามารถนำมาซ้อนทับกัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และประมวลผล
                ฐานข้อมูลอรรถก็เป็นฐานข้อมูลหนึ่งที่ต้องนำไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลเชิงตำแหน่ง    เพื่อให้การวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติถูกต้อง  ทำให้การจัดการมีประสิทธิภาพ   ดังนั้นการได้มาของฐานข้อมูลทั้งสองลักษณะจะต้องพิจารณากันอย่างรอบครอบทั้งวิธีการและรายละเอียดต่างๆที่ต้องการ   เพื่อที่จะได้ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา  และตรงกับความต้องการที่แท้จริง  

ที่มา:http://cendru.eng.cmu.ac.th/web/10-2.htm
      http://iet.kbu.ac.th/what-iet.php
      http://cendru.eng.cmu.ac.th/web/10-2.htm