วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนพิการ

  เทคโนโลยีสารสนเทศกับสำหรับคนพิการ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถที่คนพิการมีอยู่ เช่น ทำนาฬิกาให้พูดบอกเวลาได้ หรือมีการสั่นสะเทือนผูกไว้กับข้อมือ สำหรับคนพิการหูหนวก หูตึง เป็นต้น
             การยอมรับและการเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการมีประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3ประการ คือ
 1การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน 2การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ 3การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
 1. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากที่คนปกติใช้กันอยู่ อาทิ ระบบปฏิบัติการที่เป็น DOS, Windows, Macintosh, Unix หรืออื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ เช่น ตาบอด ได้รับการออกแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่เคยชินกับการใช้แป้นพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ทั่วๆ ไป
    2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
    2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
  2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น ประเภทได้แก่
  2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
  2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาทำหน้าที่เฉพาะดังต่อไปนี้
3.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง 
 3.2 เครื่องขยายหน้าจอ (Screen Enlarge ment) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
3.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (Braille Translation) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์ (Braille Display) หรือเพื่อ การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอักษรเบรลล์ต่อไป
            นอกจากนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้กับคนพิการในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือนำเอาอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ สิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นๆ อีกมาใช้ เช่น เครื่องอ่านหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition) เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านจอภาพ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง หรือจอแสดงเบรลล์ เป็นต้น
            การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับคนพิการเป็นสิ่งที่ช่วยคนพิการให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้เกิดความ เข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันของด้านโอกาสในการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละประเภทอย่างจริงจัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น