เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารและตำรวจ
เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารและตำรวจ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการทหาร (Information Technology with Military)
ในยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) หรือยุคคอมพิวเตอร์ (Computer Age) เป็นยุคปัจจุบันที่มีลักษณะของความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบุคคลอย่างอิสระ และสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้โดยทันทีทันใด เป็นการหาผลกำไรจากการจัดการกับข้อมูล ซึ่งเริ่มตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ในปี 1970 ขยายวงกว้างขึ้นโดยใช้ระบบ Internet และก่อตัวเป็นเครือข่ายสังคม (Social Network) ในปี 2000
สำหรับข้อมูลข่าวสารนั้นสามารถแบ่งตามเน้นความของข้อมูลได้ดังนี้
- ข้อเท็จจริง (Fact) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ข้อมูล (Data) คือ เหตุการณ์ที่ถูกแปลงเป็นข้อมูลที่มีเนื้อหาทั้งหมด และถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
- ข่าวสาร (Information) เป็นสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลมาเรียบเรียงโดยคัดเอาเฉพาะเนื้อหาต้องการและเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
- ข่าวกรอง (Intelligent) เมื่อนำข่าวสารทั้งหมดมาพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง มีระดับความเชื่อมั่นของแหล่งที่มา จะได้เป็นข่าวกรอง
- ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่ได้รับเมื่อมีการเก็บรวบรวมข่าวกรองที่ถูกต้องไว้เป็นหมวดหมู่ และสามารถใช้ในการคาดการสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ขององค์กร
- ปรัชญา (Wisdom) เป็นการค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ โดยอ้างอิงจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมภายในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญในด้านการทหาร จะเห็นได้จากมีความคิดปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องได้แก่ การข่าวกรอง (Intelligence), การรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร (Information security), การปฏิบัติการข่าวสาร/ การสงครามข่าวสาร (Information Operations/ Information Warfare), การการสงครามบัญชาการและควบคุม(Command and Control Warfare), และ การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare) เป็นต้น
การข่าวกรอง (Intelligence) การข่าวกรองเป็นการรวบรวมข่าวสารเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการทหาร ซึ่งต้องทำทั้งในยามปกติ และยามเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหาข่าวซึ่งมีวิธีการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งจากภาคพื้น ในทะเล หรือภาคอากาศ หากปราศจากการข่าวกรอง การปฏิบัติทางทหารจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากก่อนการปฏิบัติใด ๆ จำเป็นจะต้องมีข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธวิธี ยุทโธปกรณ์ และแนวทางการใช้งานของข้าศึก ตลอดจนที่ตั้งและจำนวน ซึ่งข้อมูลข่าวสารนี้จะถูกนำไปทำเป็นทำเนียบกำลังรบอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ (Electronic Order of Battle: EOB) และฐานข้อมูลด้านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Database) ตลอดจนใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินตกลงใจของผู้บังคับบัญชาในการสงครามบัญชาการและควบคุม (Command and Control Warfare: C2W) อีกด้วย
วิธีการรวมรวมข่าวกรองสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะคือ ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signals Intelligence: SIGINT), ข่าวกรองทางบุคคล (Human Intelligence: HUMINT) และข่าวกรองทางภาพ (Imagery Intelligence: IMINT) ารรักษาความปลอดภัยข่าวสาร (Information Security) ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่มีค่า มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรราชการ และองค์กรพลเรือน หรือประชาชนทั่วไป หากสูญเสียความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลจะทำให้คู่ธุรกิจเกิดความไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ และจะทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารมีอยู่ ๓ ประเด็น คือ การรักษาความลับ (Confidential), การรักษาสภาพ (Integrity), และความเชื่อมั่นในการใช้งาน (Accountability)- การรักษาความลับ หมายถึง การที่ไม่ทำให้เนื้อหาของข่าวสารถูกเปิดเผยไปสู่บุคคลภายนอก มากกว่าความต้องการขององค์กร
- การรักษาสภาพ หมายถึง การรักษาสภาพของเนื้อหา และสื่อกลางที่บรรจุเนื้อหาของข่าวสารไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลง หรือทำลาย
- ความเชื่อมั่นในการใช้งาน หมายถึง ต้องมีระบบตรวจสอบในความรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความมั่นใจในการใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการลดโอกาสที่จะเกิดการละเมิดต่อไปในอนาคต
สำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร มี ๓ มาตรการหลัก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Security), การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ (Computer Security), และการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ (Rule and Regulation) ทั้งนี้มาตรการต่าง ๆ จะสำเร็จได้ต้องได้รับการสนับสนุนและการเห็นคุณค่าจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงภายในองค์กร
สำหรับข้อมูลข่าวสารนั้นสามารถแบ่งตามเน้นความของข้อมูลได้ดังนี้
- ข้อเท็จจริง (Fact) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- ข้อมูล (Data) คือ เหตุการณ์ที่ถูกแปลงเป็นข้อมูลที่มีเนื้อหาทั้งหมด และถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
- ข่าวสาร (Information) เป็นสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลมาเรียบเรียงโดยคัดเอาเฉพาะเนื้อหาต้องการและเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
- ข่าวกรอง (Intelligent) เมื่อนำข่าวสารทั้งหมดมาพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง มีระดับความเชื่อมั่นของแหล่งที่มา จะได้เป็นข่าวกรอง
- ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่ได้รับเมื่อมีการเก็บรวบรวมข่าวกรองที่ถูกต้องไว้เป็นหมวดหมู่ และสามารถใช้ในการคาดการสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ขององค์กร
- ปรัชญา (Wisdom) เป็นการค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ โดยอ้างอิงจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมภายในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทสำคัญในด้านการทหาร จะเห็นได้จากมีความคิดปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องได้แก่ การข่าวกรอง (Intelligence), การรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร (Information security), การปฏิบัติการข่าวสาร/ การสงครามข่าวสาร (Information Operations/ Information Warfare), การการสงครามบัญชาการและควบคุม(Command and Control Warfare), และ การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare) เป็นต้น
การข่าวกรอง (Intelligence) การข่าวกรองเป็นการรวบรวมข่าวสารเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการทหาร ซึ่งต้องทำทั้งในยามปกติ และยามเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหาข่าวซึ่งมีวิธีการและอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งจากภาคพื้น ในทะเล หรือภาคอากาศ หากปราศจากการข่าวกรอง การปฏิบัติทางทหารจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากก่อนการปฏิบัติใด ๆ จำเป็นจะต้องมีข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธวิธี ยุทโธปกรณ์ และแนวทางการใช้งานของข้าศึก ตลอดจนที่ตั้งและจำนวน ซึ่งข้อมูลข่าวสารนี้จะถูกนำไปทำเป็นทำเนียบกำลังรบอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ (Electronic Order of Battle: EOB) และฐานข้อมูลด้านอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Database) ตลอดจนใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินตกลงใจของผู้บังคับบัญชาในการสงครามบัญชาการและควบคุม (Command and Control Warfare: C2W) อีกด้วย
วิธีการรวมรวมข่าวกรองสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะคือ ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signals Intelligence: SIGINT), ข่าวกรองทางบุคคล (Human Intelligence: HUMINT) และข่าวกรองทางภาพ (Imagery Intelligence: IMINT) ารรักษาความปลอดภัยข่าวสาร (Information Security) ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่มีค่า มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นองค์กรราชการ และองค์กรพลเรือน หรือประชาชนทั่วไป หากสูญเสียความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลจะทำให้คู่ธุรกิจเกิดความไม่มั่นใจในการทำกิจกรรมร่วมกันได้ และจะทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารมีอยู่ ๓ ประเด็น คือ การรักษาความลับ (Confidential), การรักษาสภาพ (Integrity), และความเชื่อมั่นในการใช้งาน (Accountability)- การรักษาความลับ หมายถึง การที่ไม่ทำให้เนื้อหาของข่าวสารถูกเปิดเผยไปสู่บุคคลภายนอก มากกว่าความต้องการขององค์กร
- การรักษาสภาพ หมายถึง การรักษาสภาพของเนื้อหา และสื่อกลางที่บรรจุเนื้อหาของข่าวสารไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลง หรือทำลาย
- ความเชื่อมั่นในการใช้งาน หมายถึง ต้องมีระบบตรวจสอบในความรักษาความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความมั่นใจในการใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการลดโอกาสที่จะเกิดการละเมิดต่อไปในอนาคต
สำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสาร มี ๓ มาตรการหลัก ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ (Physical Security), การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ (Computer Security), และการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ (Rule and Regulation) ทั้งนี้มาตรการต่าง ๆ จะสำเร็จได้ต้องได้รับการสนับสนุนและการเห็นคุณค่าจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงภายในองค์กร
การปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations: IO) การปฏิบัติการข่าวสาร หรือ IO เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบข้อมูลข่าวสารของข้าศึก และในเวลาเดียวกันต้องป้องกันระบบข้อมูลข่าวสารของตนเองด้วย โดยการใช้ขีดความสามารถ และกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ขององค์กรมาผสมผสานกัน เช่น การรักษาความปลอดภัยของข่าวสาร การสงครามบัญชาการและควบคุม การกิจการพลเรือน การปฏิบัติการจิตวิทยา การข่าวกรอง/การต่อต้านการข่าวกรอง การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเหนือกว่าในด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Superiority) “ความเหนือกว่าด้านข้อมูลข่าวสาร เป็นขีดความสามารถในการรวบรวม ประมวลผล และแยกแยะ ในการถ่ายเทไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารของข้าศึกโดยไม่ถูกรบกวนขณะที่ค้นหา หรือทำลายขีดความสามารถนี้ของข้าศึก”สามารถแบ่งออกเป็นการปฏิบัติการเชิงรุก และการปฏิบัติการเชิงรับ
การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก (Offensive IO) เป็นการรวมการใช้งานและการสนับสนุนในขีดความสามารถ และกิจกรรมต่าง ๆ ในการสร้างผลกระทบให้เกิดกับกระบวนการในการตัดสินใจของข้าศึก และสร้างประเด็นให้เบี่ยงเบนสนใจของข้าศึก
การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรับ (Defensive IO) เป็นการรวบรวม และประสานสอดคล้องของนโยบาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติการ บุคลากร และเทคโนโลยีในการป้องกันระบบข้องมูลข่าวสารของฝ่ายเรา
การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก (Offensive IO) เป็นการรวมการใช้งานและการสนับสนุนในขีดความสามารถ และกิจกรรมต่าง ๆ ในการสร้างผลกระทบให้เกิดกับกระบวนการในการตัดสินใจของข้าศึก และสร้างประเด็นให้เบี่ยงเบนสนใจของข้าศึก
การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรับ (Defensive IO) เป็นการรวบรวม และประสานสอดคล้องของนโยบาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติการ บุคลากร และเทคโนโลยีในการป้องกันระบบข้องมูลข่าวสารของฝ่ายเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น