วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม

เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมสำรวจกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ
1.  งานสำรวจรังวัด ( Surveying )

                งานสำรวจรังวัด ( Surveying )  คือ งานที่อาศัยขบวนการทางวิทยาศาสตร์และศิลป์มาใช้ในการวัดหาตำแหน่งสัมพัทธ์ (Relative position) ของสิ่งต่างๆทั้งที่ตั้งอยู่บน  เหนือ  หรือใต้พื้นผิวโลก   แต่ปัจจุบันคำว่า Surveying ได้เปลี่ยนเป็น Geomaticsโดยนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับขบวนการทางวิทยาศาสตร์และศิลป์ในการวัดตำแหน่ง รวบรวมสารสนเทศ (Information) เกี่ยวกับกายภาพและสิ่งแวดล้อมของโลก  ทำการประมวลผลและเผยแพร่ผลต่างๆตามที่ต้องการ
ในงานสำรวจรังวัดนั้นมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการใช้แผนที่มาทำการวางแผนจัดระบบการใช้ที่ดิน  การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น  ซึ่งการจัดทำแผนที่สามารถทำได้หลายวิธีการทั้งการสำรวจรังวัดภาคพื้นดิน  การสำรวจรังวัดจากภาพถ่ายทางอากาศ  เป็นต้น  แต่ละวิธีการจะใช้เครื่องมือและระบบประมวลผลแตกต่างกัน  การจะเลือกใช้วิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน
2.  เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมสำรวจ
                ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมสำรวจได้เจริญรุดหน้าไปอย่างมาก  ทั้งในส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดหรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลหรือที่เรียกว่า ซอฟท์แวร์(Software)
                การพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของเครื่องมือสำรวจรังวัดได้นำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์และไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของตัวเครื่องมือ เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงขึ้น  ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  เช่น  เครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดภาคพื้นดิน  ได้แก่  กล้อง Total  Station   กล้องระดับอิเล็กทรอนิกส์  ดังรูปที่ 1 เป็นต้น  ส่วนการสำรวจรังวัดภาพถ่ายใช้กล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัล ระบบ 3D  Laser Scanner รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียม      นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือรังวัดพิกัดจากระบบการกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม     ที่เรียกกันว่า GPS (Global Positioning  System)  ดังรูป
eica  SR20  GPS  Receiver

                ในด้านโปรแกรมประมวลผลมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผนวกเอาข้อมูลทางด้าน
แผนที่  หรือที่เรียกว่า ข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Spatial  Data) มาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กับข้อมูลเชิงตำแหน่งนั้นๆ ที่เรียกว่า ข้อมูลอรรถหรือคุณลักษณะ (Attribute  Data  or  Non-spatial
Data)  ที่เรียกกันว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic  Information  System , GIS)

ปัจจุบันได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นี้มีองค์ประกอบส่วนต่างๆ ดังนี้  ระบบคอมพิวเตอร์   ระบบซอฟท์แวร์   ข้อมูล    กรรมวิธี  บุคลากร  และการบำรุงรักษา  ซึ่งทุกส่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีประสิทธิภาพ

3.  การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ

    ภัยทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   แต่สามารถทำให้ผลกระทบที่เกิดจากภัยทางธรรมชาตินั้นน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้    ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการที่ดี    โดยเฉพาะการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้จัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้น   องค์ประกอบหนึ่งที่จะมีผลต่อการจัดการ ก็คือ ข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงตำแหน่งและข้อมูลอรรถ   การจัดทำฐานข้อมูลนั้นสำคัญอย่างยิ่งที่จะมีผลต่อการใช้งาน   ฐานข้อมูลเชิงตำแหน่งจะอยู่ในรูปของแผนที่  แผนที่ฐาน(Based  Map) ที่ถูกจัดสร้างขึ้นมานั้นอาจสร้างมาจากการสำรวจรังวัดภูมิประเทศ (Topographic  Surveys)  การสำรวจรังวัดจากภาพถ่ายทางอากาศ (Photogrammetry) หรือจากภาพถ่ายดาวเทียม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตราส่วนและความถูกต้องที่ต้องการ  โดยแผนที่ฐานสามารถจำแนกออกมาเป็นแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) เช่น  แผนที่แสดงถนน  แผนที่แสดงอาคาร  แผนที่แสดงแนวท่อระบายน้ำ  ฯลฯ  เป็นต้นระบบพิกัดของแต่ละแผนที่จะต้องเป็นระบบเดียวกันทำให้สามารถนำมาซ้อนทับกัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และประมวลผล
                ฐานข้อมูลอรรถก็เป็นฐานข้อมูลหนึ่งที่ต้องนำไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลเชิงตำแหน่ง    เพื่อให้การวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติถูกต้อง  ทำให้การจัดการมีประสิทธิภาพ   ดังนั้นการได้มาของฐานข้อมูลทั้งสองลักษณะจะต้องพิจารณากันอย่างรอบครอบทั้งวิธีการและรายละเอียดต่างๆที่ต้องการ   เพื่อที่จะได้ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา  และตรงกับความต้องการที่แท้จริง  

ที่มา:http://cendru.eng.cmu.ac.th/web/10-2.htm
      http://iet.kbu.ac.th/what-iet.php
      http://cendru.eng.cmu.ac.th/web/10-2.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. วิศวกรรมสำรวจ อังกฤษ: Survey Engineering เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ

    ตอบลบ