วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับนักศึกษา มีอะไรบ้าง...

1.1 มหาวิทยาลัยมาหาสารคามได้เตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการเปิดให้บริการของห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นการยืมและคืนหนังสือผ่านทางเครื่องช่วยลดเวลาให้การต่อคิวยืมหนังสือ  และยังมีเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาห้องสมุดให้สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ คือการค้นหาหนังสือผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทางห้องสุดจัดเป็นหมวดหมู่ไว้ในระบบ และง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลหนังสือที่เราต้องการแค่พิมพ์ชื่อหนังสือวัน เดือน ปี และครั้งที่พิมพ์ ของหนังสือที่เราต้องการระบบก็จะแสดงที่อยู่ของชั้นวางหนังสือให้เราเอง โดยเราไม่ต้องไปเดินหาทีละชั้น ข้อดีอีกอย่างก็คือสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง 

1.2 อีกแนวคิดหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำมาใช้และเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมแล้วก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ค    


 แนวคิดเรื่อง อีบุ๊ค ( eBook) คือ การทำหนังสือ หรือแม็กกาซีน มาพัฒนาในรูปแบบดิจิตอล โดยผู้สนใจสามารถอ่านสิ่งพิมพ์ดิจิตอลเหล่านี้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เหมือนการอ่านจากหนังสือหรือแม็กกาซีนทั่วไป แต่มีจุดเด่นคือ ผู้อ่านสามารถเข้าเลือกซื้อหนังสือหรือแมกกาซีนที่ eBook World ได้ตลอดเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถเลือกดาวน์โหลดมาอ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือขณะใดก็ตาม โดยไม่จำเป็นต้อง online อยู่ ถ้าได้ดาวน์โหลดไว้เรียบร้อยแล้ว
           เทคนิคของการผลิต eBook เป็นเทคโนโลยีของบริษัท Zinio ซึ่งในเบื้องต้นข้อมูลที่จะนำมาสร้าง eBook จะต้องเตรียมไฟล์ไว้ในรูปแบบ PDF สามารถใส่ link, ใส่ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงไว้ในไฟล์ PDF หลังจากนั้นจึงใช้เครื่องมือของ Zinio นำมาจัดการกับไฟล์ PDF อีกครั้ง ทำให้ eBook มี effect การเปิดอ่านที่น่าสนใจ น่าตื่นตาตื่นใจ
           แผงหนังสือดิจิตอล eBook World (หมายถึงของ True) จะให้บริการครอบคุมหนังสือและนิตยสารชั้นนำทั้งในและต่างประเทศกว่า 20 หมวด ผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปเลือกซื้อหนังสือที่ eBook World ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เว็บไซต์ www.ebookworld.in.th โดยสามารถดาวน์โหลดนิตยสารและหนังสือที่ต้องการมาไว้อ่านได้ในภายหลัง
          ซึ่งทรู ได้ร่วมกับสำนักพิมพ์ชั้นนำของประเทศ เช่น บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด ( มหาชน ) , บริษัท บลิช พับลิชชิ่ง จำกัด , บริษัท บูรพัฒน์ คอมิคส์ พับลิเคชั่น์ จำกัด , บริษัท ฟิวเจอร์วิว จำกัด , บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด ( มหาชน ) , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นต้น เพื่อผลิต eBook ชุดแรกไว้บริการ โดยคัดสรรเนื้อหาสาระที่หลากหลายและรูปแบบแตกต่างกันผสมผสานไว้ใน แผงหนังสือติจิตอลแห่งนี้

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของ E-BOOK


ข้อดีของ e-Book

1. ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ
2.ใช้พื้นที่น้อยในการจัดเก็บ (cd 1 แผ่นสามารถเก็บ e-Book ได้ประมาณ 500 เล่ม)
3.อ่านได้ในที่มืด หรือแสงน้อย
4.ทำสำเนาได้ง่าย
5.จำหน่ายได้ในราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
6.อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ
7.สะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันที
8.เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษกับ True e-Book

ข้อเสียของ e-Book

1.อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software  ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
2.ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
3.การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
4.เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
5.ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น


1.3   มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษามาให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศคือ การเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในมหาวิทยาลัยรวมทั้งคณะต่างๆได้ใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆบนโลกอินเทอร์เน็ต ได้รวดเร็วนั้นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น